ประกาศ
อัตราการใช้ E-Commerce Website
การใช้เว็บไซต์ Shopping Online
จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ สำนักงาน กสทช. ที่เปรียบเทียบการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์ของคนไทย ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 พบว่า แพลตฟอร์ม Shopping Online มียอดการเข้าใช้บริการเพิ่มขึ้น เช่น Shopee เพิ่มขึ้นกว่า 478.6% และ Lazada เพิ่ม 121.5% สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้การขายของออนไลน์สามารถทำได้ง่ายขึ้น เพราะกลุ่มลูกค้ามารวมกันอยู่บนโลกออนไลน์แล้ว
ข้อดีของการขายสินค้าแบบ Online
ที่สำคัญ การขายสินค้า Online ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ยังมีข้อดีกว่าการขายสินค้าแบบ Offline เพราะการขายสินค้าบนออนไลน์ ไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า ซื้อขายได้ 24 ชั่วโมง เวลามีความยืดหยุ่นทั้งกับผู้ซื้อ ผู้ขาย และยังสามารถเลือกช่องทางการขาย ทำการตลาด โฆษณาหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างเฉพาะเจาะจง
ต่างจากการขายสินค้า Offline ที่มีข้อจำกัด คือ ต้องมีหน้าร้าน ต้องจ่ายค่าเช่า ต้องเปิดปิดตามเวลา แล้วช่วงวิกฤตเช่นนี้ ลูกค้าลดลง ส่วนสถานประกอบการ ห้าง ร้านต้องปิดกิจการชั่วคราว ส่งผลให้ผู้ประกอบการ ขณะที่รายย่อยขาดทุนหนัก เพราะขายของไม่ได้ ทำให้รายได้ไม่พอรายจ่าย โดยเฉพาะต้นทุนที่ต้องแบกรับในแต่ละวัน
แม้จะมองเห็นโอกาส แต่จะขายของออนไลน์ประเภทให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งข้อมูลจากรายงานสถานการณ์ธุรกิจ E-Commerce ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำเดือนมีนาคม 2020 ของ aCommerce และ BRANDIQ ที่ทำดัชนีวัดการเติบโตของการซื้อสินค้า/บริการออนไลน์ พบว่า กลุ่มสินค้าขายดี และมีโอกาสโตในช่วงนี้ คือ กลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพและกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคในขณะที่กลุ่มสินค้าที่ขายได้น้อยลง และควรพักก่อนช่วงนี้ คือ กลุ่มสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม แฟชั่น และผลิตภัณฑ์เพื่อสัตว์เลี้ยง